Category Archives: Uncategorized

มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน คือ หลักการการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ควรจะเป็น เป็นกรอบปฏิบัติงานที่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการตรวจสอบภายใน เป็นพื้นฐานในการวัดผลการตรวจสอบภายใน และเพื่อ ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนปฏิบัติการขององค์การประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ประเภท คือ 1. มาตรฐานคุณลักษณะงาน (Attribute Standards) เป็นมาตรฐานของหน่วยงานและบุคคลที่ปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน แบ่งเป็น 4 มาตรฐานย่อย ได้แก่ 1.1 วัตถุประสงค์ อำนาจ และความรับผิดชอบ (Purpose Authority and Responsibility) วัตถุประสงค์ อ านาจ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมงานตรวจสอบภายใน ควรระบุอย่างเป็นทางการในกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ซึ่งควรสอดคล้องกับที่มาตรฐานก าหนดและได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ 1.2 ความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม (Independence and Objectivity) กิจกรรมงานตรวจสอบภายในควรเป็นอิสระ และผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติงานอย่างเที่ยงธรรมเป็นกลาง 1.3 ความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังทางวิชาชีพ (Proficiency and Due Professional Care) การปฏิบัติงานต้องปฏิบัติด้วยความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังทางวิชาชีพ 1.4 การประกันคุณภาพและแผนการปรับปรุง (Quality Assurance […]

วิวัฒนาการ หลักการ และประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน

วิวัฒนาการ หลักการ และประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน วิวัฒนาการของการตรวจสอบภายใน สมัยก่อนงานตรวจสอบภายใน ส่วนใหญ่เป็นงานหนึ่งในส่วนของฝ่ายบัญชี  ผู้ตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบด้านการรับจ่ายเงินว่าตรงตามเอกสาร หรือตามนโยบายหรือตามระเบียนที่กำหนดไว้หรือไม่ แต่ไม่ใช่แนวความคิดของการตรวจสอบภายในในยุคปัจจุบันซึ่งได้ขยายขอบเขตมาเป็นงานตรวจสอบกิจกรรมทุกด้านภายในองค์การและขึ้นตรงกับผู้บริหารระดับสูง ประวัติศาสตร์ของการตรวจสอบภายในอาจแบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังต่อไปนี้ 1.ยุคโบราณ (Ancient Times) เริ่มขึ้นก่อนคริสตกาล 3,500 ปี เป็นบันทึกของอารยธรรมเมโสโปเตเมียแสดงเครื่องหมายเล็กๆ ข้างตัวเลขเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน เครื่องหมายจุด ขีด หรือเครื่องหมายถูก แสดงถึงระบบของการตรวจทาน 2.ยุคกลาง (The Middle Ages) เมื่อโรมล่มสลาย จากการขยายตัวทางการค้าของชาวอิตาเลียนระหว่างศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดการจดบันทึกที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเกิดระบบบัญชีคู่ขึ้นมา กล่าวคือทุกรายการค้าจะบันทึก 2 ด้าน ทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต 3.ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) เริ่มต้นในประเทศอังกฤษ องค์กรจ้างนักบัญชีเพื่อตรวจสอบบันทึกทางการเงินมากกว่าการไต่ถามแล้วได้ยิน โดยการตรวจสอบบันทึกทางบัญชีและเปรียบเทียบรายการในสมุดบัญชีกับเอกสารการลงบัญชี 4.ยุคปัจจุบัน (Recent Times) ได้แผ่ขยายข้ามมาจากประเทศอังกฤษผ่านทางทะเลไปประเทศสหรัฐอเมริกา ชาวอังกฤษผู้มั่งคั่งลงทุนมหาศาลในกิจการของประเทศสหรัฐอเมริกา  ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องการการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับเงินที่นำไปลงทุน ผู้ตรวจสอบบัญชีได้นำวิธีการตรวจสอบเข้ามาแพร่หลาย ในยุคปัจจุบันนี้ประเทศที่ถือว่าเป็นผู้นำการพัฒนางานตรวจสอบคือสหรัฐอเมริกา […]